ประวัติความเป็นมาของหน่วยงาน
นับตั้งแต่เริ่มใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 ฉบับแก้ไขปรับปรุง พ.ศ.2547 ซึ่งกำหนดบทบาทหน้าที่ของวิทยาลัยครูให้เปิดสอนระดับปริญญาตรีสาขาวิชาอื่น ๆ อีกสองสาขา นอกเหนือจากสาขาครุศาสตรบัณฑิต คือ วิทยาศาสตรบัณฑิต และศิลปศาสตรบัณฑิต ทำให้โครงสร้างของวิทยาลัยครูเปลี่ยนไปจากเดิมโดยได้มีการเปิดคณะวิชาใหม่ขึ้นมารองรับ คือคณะวิชาวิทยาการจัดการ
ปี พ.ศ. 2527 - 2528 มีการก่อตั้งคณะวิทยาการจัดการ โดยใช้อาคารเรียน เอ 6 เป็นสำนักงานและอาคารในการจัดการเรียนการสอน และตั้งคณะวิทยาการจัดการอย่างเป็นทางการ เริ่มมีการบริหาร คณะวิทยาการจัดการอย่างเป็นระบบ ผู้บริหารท่านแรก ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ระวัง เนตรโพธิ์แก้ว ต่อมาได้มีการแบ่งการบริหารออกเป็น 5 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาบริหารธุรกิจและสหกรณ์ภาควิชาการเงินและบัญชี, ภาควิชาการตลาด, ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ และภาควิชานิเทศศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 – 2537 ในส่วนของการจัดการศึกษานั้น คณะวิชาวิทยาการจัดการ ได้ดำเนินการผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาและสาขาวิชาศิลปศาสตร์ ดังนี้
1. สาขาวิชาการศึกษา ได้แก่ การผลิตบัณฑิต โปรแกรมวิชาสหกรณ์ ระดับปริญญาตรี 4 ปี โดยเปิดรับนักศึกษาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปีการศึกษา 2525 เป็นต้นมา และตั้งแต่ปีการศึกษา 2533 ไม่มีนักศึกษาโปรแกรมวิชาสหกรณ์
2. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ โดยคณะฯ ได้เปิดสอนมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2528 ตามโปรแกรมวิชาต่อไปนี้
2.1 โปรแกรมวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์เปิดรับทั้งในระดับอนุปริญญา และปริญญาตรี ทั้งภาคปกติ และภาค กศ.พป. และได้ปิดรับนักศึกษาของโปรแกรมนี้ในปีการศึกษา 2533
2.2 โปรแกรมวิชาวารสารศาสตร์และการประชาสัมพันธ์ ระดับอนุปริญญาสำหรับนักศึกษาภาคปกติ (ซึ่งได้ปิดรับนักศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2532) โดยเปลี่ยนมารับนักศึกษาโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ (การประชาสัมพันธ์) ระดับปริญญาตรี 4 ปี แทน และตั้งแต่ปีการศึกษา 2539 โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ได้เปิดแขนงใหม่ คือ แขนงวิชาวารสารศาสตร์
2.3 โปรแกรมวิชาการจัดการทั่วไป ระดับปริญญาตรี 4 ปี ได้เปิดรับนักศึกษาภาคปกติ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2532 จนกระทั่งปีการศึกษา 2536 ได้ปิดโปรแกรมวิชานี้ และเปิดรับโปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจระดับปริญญาตรี 4 ปี แทน ส่วนโปรแกรมวิชาการจัดการทั่วไป ระดับปริญญาตรี 2 ปีหลัง ได้เปิดรับนักศึกษา ภาค กศ.พป. ในราวกลางภาคการศึกษาที่ 2/2542 คณะฯ ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานวิชาการจากภาควิชาเป็นโปรแกรมวิชาตามนโยบายของสถาบัน โดยแบ่งเป็น 6 โปรแกรมวิชา ดังนี้
1. โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจและการจัดการทั่วไป
2. โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ (การบัญชี)
3. โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ (การเงินและการธนาคาร)
4. โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ (การตลาด)
5. โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ (การประชาสัมพันธ์)
6. โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ (วารสารศาสตร์)
และยังได้เริ่มนำมาตรการการประกันคุณภาพการศึกษามาใช้ โดยในส่วนของคณะฯ ได้จัดทำคู่มือการประกันคุณภาพ และได้มอบหมายให้โปรแกรมวิชาทั้งหมด จัดทำคู่มือการศึกษาตนเองและคู่มือนักศึกษาของโปรแกรมวิชาเพื่อมอบให้แก่นักศึกษาของโปรแกรมวิชาด้วย
ปี พ.ศ. 2543 ได้เปลี่ยนแปลงหลักสูตรใหม่ทั้งในส่วนของโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ และโปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจตามนโยบายของสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ และมีการจัดทำคู่มือนักศึกษาของโปรแกรมวิชาตามหลักสูตรใหม่เป็นครั้งแรก
ปี พ.ศ. 2544 เปิดโปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจและการจัดการทั่วไป (การบริหารทรัพยากรมนุษย์) และในปีเดียวกันนี้ คณะฯ ได้สร้างห้องปฏิบัติการการเงินและการธนาคาร 1 ห้อง และห้องปฏิบัติการบัญชี 1 ห้อง
ปี พ.ศ. 2545 เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจ (บธ.บ.) 2 ปีหลังอนุปริญญา แขนงการบัญชี การเงินและการธนาคาร การตลาด การบริหารทรัพยากรมนุษย์และยกเลิกการเปิดหลักสูตรการจัดการทั่วไปแขนงต่าง ๆ โดยเหลือเพียงโปรแกรมวิชาการจัดการทั่วไปเพียงโปรแกรมวิชาเดียว และในปีนี้คณะฯ ได้สร้างห้องปฏิบัติการจัดรายการวิทยุโทรทัศน์ 1 ห้อง
ปี พ.ศ. 2546 ในระดับปริญญาตรี คณะฯ ได้เปิดหลักสูตรนิเทศศาสตร์ (การจัดรายการวิทยุโทรทัศน์) และนิเทศศาสตร์ (การโฆษณา) และในส่วนระดับบัณฑิตศึกษา เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการทั่วไป) โดยรับนักศึกษารุ่นแรกในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2547 จำนวน 2 ห้อง
ปี พ.ศ. 2547 ในระดับบัณฑิตศึกษา เปิดรับนักศึกษารุ่นที่ 1 หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการทั่วไป) จำนวน 2 ห้อง
ปี พ. ศ. 2548 เปิดรับนักศึกษารุ่นที่ 2 หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการทั่วไป) จำนวน 2 ห้อง
ปี พ. ศ. 2549 ในระดับบัณฑิตศึกษา เปิดรับนักศึกษารุ่นที่ 3 หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการทั่วไป) จำนวน 2 ห้อง และหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการทั่วไป) สำหรับผู้บริหาร จำนวน 1 ห้อง
ปี พ.ศ. 2550 ในระดับบัณฑิตศึกษา เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการทั่วไป) สำหรับผู้บริหาร จำนวน 1 ห้อง
ปี พ.ศ. 2551 คณะวิทยาการจัดการได้ร่างหลักสูตรใหม่ 2 หลักสูตรคือหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการโลจิสติกส์) และหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ธุรกิจระหว่างประเทศ) และในปีเดียวกันนี้คณะได้รับงบประมาณแผ่นดินจำนวน 40 ล้านบาทในการสร้างอาคารเรียนรวมปฏิบัติการบัญชีและโลจิสติกส์
ปี พ.ศ. 2552 คณะวิทยาการจัดการได้เปิดสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจ (การจัดการโลจิสติกส์) และหลักสูตรบริหารธุรกิจ (ธุรกิจระหว่างประเทศ) โดยรับนักศึกษาโปรแกรมวิชาละ 50 คน
การบริหารงานวิชาการโปรแกรมวิชาตามนโยบายของคณะ แบ่งเป็น 9 โปรแกรมวิชา และ 1 กลุ่มรายวิชา ดังนี้
1. โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ (การจัดการทั่วไป)
2. โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ (การเงินและการธนาคาร)
3. โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ (การตลาด)
4. โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
5. โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ (การบริหารทรัพยากรมนุษย์)
6. โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ (ธุรกิจระหว่างประเทศ)
7. โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ (การจัดการโลจิสติกส์)
8. โปรแกรมวิชาการบัญชี
9. โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์
- การประชาสัมพันธ์
- วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
10. กลุ่มรายวิชาเศรษฐศาสตร์
ปี พ.ศ. 2553 คณะวิทยาการจัดการได้ยกเลิกหลักสูตรบริหารธุรกิจ (บธ.บ.) 2 ปีหลังอนุปริญญา แขนงการบัญชี การเงินและการธนาคาร การตลาด การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และรับผู้สำเร็จการศึกษาที่มีคุณวุฒิสูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายเข้าศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี โดยการเทียบโอนผลการเรียน ตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2551
ปี พ.ศ. 2554 คณะวิทยาการจัดการได้เริ่มใช้อาคารเรียนรวมปฏิบัติการบัญชีและ
โลจิสติกส์ เป็นสำนักงานแทนอาคารเรียน เอ 6 ซึ่งจะปรับปรุงเป็นอาคารเรียนและห้องปฏิบัติการทั้งหมด และในปีเดียวกันนี้คณะฯ ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาทุกสาขาวิชา
ปี พ.ศ. 2555 คือหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการทั่วไป หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ หลักสูตรบัญชีบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี และเปิดการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตร ฉบับปรับปรุง ปี พ.ศ. 2555 คือหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชา
การจัดการโลจิสติกส์ และหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
ปี พ.ศ. 2556 คณะวิทยาการจัดการปรับเปลี่ยนการบริหารงานวิชาการ จากโปรแกรมวิชาเป็นกลุ่มหลักสูตรและสาขาวิชา เพื่อให้เกิดความสะดวกในการบริหารจัดการ และเพื่อความสะดวกในการทำงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา โดยแบ่งเป็น 3 หลักสูตร ดังนี้
1. หลักสูตรบริหารธุรกิจ มี 7 สาขาวิชาดังนี้
- หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
- หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร
- หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด
- หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
- หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
- หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ
- หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
2. หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
- สาขาวิชาการบัญชี
3. หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต มี 2 สาขาวิชาดังนี้
- สาขาวิชาประชาสัมพันธ์
- สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
และปรับเปลี่ยนตำแหน่งการบริหารงานจากประธานโปรแกรมวิชา เป็นประธานสาขาวิชา
ปี พ.ศ. 2557 คณะฯ ได้จัดทำหลักสูตรขึ้นมาใหม่ จำนวน 1 หลักสูตร คือหลักสูตรธุรกิจศึกษา โดยจะเปิดรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2558
ปีการศึกษา 2558 คณะฯ ได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตร หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจศึกษา โดยปี 2558 นี้มีแผนการรับนักศึกษา จำนวน 30 คน
ปี พ.ศ. 2559 คณะฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรที่ได้ใช้ในการเรียนการสอนมาครบ 5 ปี จำนวน 7 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการทั่วไป หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด หลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี และหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป และเปิดรับนักศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559
ในปีการศึกษา 2560 คณะฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรที่ได้ใช้ในการเรียนการสอนมาครบ 5 ปี จำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ และโซ่อุปทาน และหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต
ในปีการศึกษา 2561 คณะฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจศึกษา เป็นหลักสูตร 4 ปี ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต แขนง “การจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่” พัฒนาหลักสูตรธุรกิจระหว่างประเทศและการจัดการโลจิสติกส์ ภาคภาษาอังกฤษ (ใหม่) และพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นพัฒนาผู้บริหาร MINI MBA ร่วมกับหอการค้าจังหวัดนครปฐม และกลุ่มทายาทนักธุรกิจและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ หอการค้าจังหวัดนครปฐม (YECนครปฐม)
ปีการศึกษา 2562 มีการดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร (มคอ.2) ใช้เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 จำนวนทั้งสิ้น 7 หลักสูตร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) ได้แก่ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ สาขาวิชาการจัดการทั่วไป สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ สาขาวิชาการตลาด และหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป โดยมีการเปลี่ยนชื่อ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร เป็น หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงินและการลงทุน
ปีการศึกษา 2563-2564 มีการดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร (มคอ.2) ใช้เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 จำนวนทั้งสิ้น 3 หลักสูตร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) ได้แก่ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ
โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ โดยมีการเปลี่ยนชื่อ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เป็น หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจดิจิทัล
ปีการศึกษา 2565-2566 มีการดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร ให้สอดคล้องตามเกณฑ์ AUN QA จำนวนทั้งสิ้น 10 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ สาขาวิชาการจัดการทั่วไป สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาการเงินและการลงทุน สาขาธุรกิจดิจิทัล สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต หลักสูตรบัญชีบัณฑิต และหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป (ป.โท) และเปิดหลักสูตรใหม่ หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาธุรกิจอีสปอร์ต จำนวน 1 หลักสูตร